ประวัติสหกรณ์

ความเป็นมาของ “เครดิตยูเนี่ยน” ในประเทศไทย

 พ.ศ. 2506     คณะสงฆ์เยซูอิต จัดสัมมนาระดับชาติที่บ้านเซเวียร์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เรื่อง “การพัฒนาเครดิตยูเนี่ยน”  
                     มีผู้แทนจากประเทศใกล้เคียง เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง และไทย

พ.ศ. 2508      บาทหลวงบอนแนงค์ คณะสงฆ์เยซูอิต และนายแพทย์ชวลิต จิตรานุเคราะห์ ได้จัดตั้งกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนแห่งแรกของประเทศไทย
                     ขึ้นที่ศูนย์กลางเทวา ห้วยขวาง กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2508   ชื่อ “กลุ่มออมทรัพย์พัฒนาศูนย์กลางเทวา” 
                     ต่อมาเปลี่ยนเป็น “กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนศูนย์กลางเทวา” โดยมี นายอัมพร วัฒนวงศ์ เป็นประธานคนแรก มีสมาชิก 13 คน มีเงินทุนเรือนหุ้น 360 บาท

พ.ศ. 2511      ศูนย์สังคมพัฒนาคาทอลิก ตั้งคณะกรรมการส่งเสริมเครดิตยูเนี่ยนที่ศูนย์กลางเทวา ห้วยขวาง โดยมี

                      1.) บาทหลวงบุญเลื่อน  หมั่นทรัพย์            ผู้อำนวยการ

                      2.) บาทหลวงญาณี       แซแวร์ญิณี           ผู้ช่วย

                      3.) บาทหลวงประสิทธิ์   สมานจิตต์            ผู้ช่วย

                     หลังจากนั้นเครดิตยูเนี่ยนก็ขยายไปอย่างรวดเร็ว ตามวัดคาทอลิกทั้งในเขตกรุงเทพฯ

                      1.) กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนเซนต์ฟรังซิสเซเวียร    10 มิถุนายน 2510

                      2.) กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนคอนเซ็ปชัญ              1 สิงหาคม 2511

                      3.) กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนวัดเซนต์หลุยส์           14 เมษายน 2514

                     กรมส่งเสริมสหกรณ์ อนุญาตให้กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายสหกรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2522 กลุ่มแรกคือ “สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแม่มูล จำกัด” จังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ. 2522      วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2522 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทั่วประเทศร่วมสถาปนาชุมนุมระดับชาติขึ้น และจดทะเบียนใช้ชื่อว่า “ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด”

ประวัติสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนักบุญเปโตร จำกัด

พ.ศ. 2513      พระคุณเจ้ารัตน์ บำรุงตระกูล และนายแพทย์ชวลิต จิตรานุเคราะห์ ได้นำเรื่องเครดิตยูเนี่ยนเผยแพร่ในเขตวัดนักบุญเปโตร เป็นครั้งแรก

พ.ศ. 2514      บาทหลวงอาแบล พาณิชย์อุดม อธิการ   บาทหลวงบัญชา ศรีประมงค์ รองอธิการ ได้เรียกประชุมชาวบ้านในเขตวัดนักบุญเปโตร 
                     เรื่อง การจัดตั้งกลุ่มเครดิตยูเนี่ยน โดยเชิญ

                     1.)  พระคุณเจ้ารัตน์        บำรุงตระกูล

                     2.)  บาทหลวงบุญเลื่อน   หมั่นทรัพย์

                     3.)  บาทหลวงศวง         ศุระศรางค์

                     4.)  นายชิน                  ประกอบกิจ

                     มาเป็นวิทยากร หลังจากได้จัดตั้งคณะกรรมการเตรียมจัดตั้งกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนขึ้น โดยมี

                     1.)  นายมนูญ               สงวนแก้ว         ประธาน

                     2.)  นายชุณห์               กิจสกุล            เลขานุการ

                     3.)  นายเฮี้ยง               แซ่อึ้ง              กรรมการ

                     4.)  ผู้ใหญ่ดำริห์            กิจเจริญ          กรรมการ

                     5.)  ผู้ใหญ่พัฒนา          กิจจิว              กรรมการ

                     หลังจากคณะกรรมการได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องเครดิตยูเนี่ยนอย่างดีพอสมควร จึงประกาศจัดตั้งกลุ่มเป็นทางการเมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม 2514 
โดยให้ชื่อว่า “กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนนักบุญเปโตร” 
                     มีคณะกรรมการบริหารชุดแรก ดังนี้

                     1.)  นายมนูญ               สงวนแก้ว         ประธาน

                     2.)  นายเสกสรร            กิจฉลอง          รองประธานคนที่ 1

                     3.)  นายไกรสีห์             ตั้งเมธากุล       รองประธานคนที่ 2

                     4.)  นายชุณห์               กิจสกุล           เลขานุการ

                     5.)  นายดรุณี                ประมวลบรรณาการ     ผู้ช่วยเลขานุการ

                     6.)  นายเฮี้ยง                แซ่อึ้ง             เหรัญญิก

                     7.)   ผู้ใหญ่ดำริห์            กิจเจริญ          ผู้ช่วยเหรัญ

                     สมาชิกเริ่มแรก 32 คน เงินสะสมหุ้น 1,432 บาท โดยใช้สถานที่ใช้บ้านพักบาทหลวงเป็นสำนักงานชั่วคราว

พ.ศ. 2515      กรกฎาคม เริ่มเปิดบริการเงินกู้

พ.ศ. 2516      ประชุมใหญ่สามัญประจำปีที่ 1 ครั้งแรกที่บ้านนายเสกสรร กิจฉลอง บุคคลสำคัญในการสนับสนุนเข้าร่วมประชุม คือ

                     1.)  พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย    กิจบุญชู

                     2.)  พระคุณเจ้าบุญเลื่อน          หมั่นทรัพย์

                     3.)  บาทหลวงศวง                  ศุระศรางค์

พ.ศ. 2516      บาทหลวงศวง ศุระศรางค์ ได้รับแต่งตั้งมาเป็นอธิการวัดนักบุญเปโตร 
                     วันที่ 2 พฤษภาคม 2516 ได้สนับสนุนส่งเสริมงานเครดิตยูเนี่ยนเต็มที่ ให้ใช้ห้องหนึ่งของวัดเก่า (ห้องซาครีสเตีย) 
                     เป็นสำนักงานชั่วคราว เครดิตยูเนี่ยนนักบุญเปโตร เจริญก้าวหน้ามากในสมัยนี้

                     มีเจ้าหน้าที่ประจำ 2 คนแรก คือ

                     1.)  นางสาวอัมพรศณี        เหลี่ยมสงวน

                     2.)  นางสาวจิตรา             กิจจิว

พ.ศ. 2517     เปิดบริการรับเงินฝากออมทรัพย์จากเด็กนักเรียน และบุคคลทั่วไป ได้รับความสนใจจากนักเรียนเป็นพิเศษ

พ.ศ. 2519     สมัครเป็นสมาชิกชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด

พ.ศ. 2522     จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ชื่อว่า “สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนักบุญเปโตร จำกัด” 
                     15 มกราคม 2522 เลขทะเบียน กพธ. 12/2522

พ.ศ. 2541      ได้รับโล่รางวัลประกาศเกียรติคุณในฐานะสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่นระดับภาคกลางประจำปี 2541 จาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย

พ.ศ. 2541      พฤษภาคม ได้รับโล่พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 “สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนดีเด่นแห่งชาติ ปี 2541”

พ.ศ. 2547      พฤษภาคม ได้รับโล่พระราชทานจากสมเด็จพระบรมโอรสสาธิราช “สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนดีเด่นแห่งชาติ ปี 2547”

พ.ศ. 2553      พฤษภาคม ได้รับโล่พระราชทานจากสมเด็จพระบรมโอรสสาธิราช “สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนดีเด่นแห่งชาติ ปี 2553”

สำนักงานใหม่ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนักบุญเปโตร จำกัด

 พ.ศ. 2543 – 2544   กรกฎาคม สหกรณ์ฯ ซื้อที่ดินจากมิสซังคาทอลิก เนื้อที่ดิน 2 ไร่ 2 งาน 69 ตารางวา ที่ ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110

พ.ศ. 2545      วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม 2545 มีพิธีเสกสำนักงานเป็นการภายใน โดย บาทหลวงศวง ศุระศรางค์ และทำการเปิดสำนักงานใหม่อย่างเป็นทางการในวันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม 2545 เป็นต้นมา นับว่าเป็นเกียรติที่น่าภูมิใจของคณะกรรมการและสมาชิกทุกท่านตลอดไป

บุคคลสำคัญของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนักบุญเปโตร จำกัด

ผู้สนับสนุนสำคัญเบื้องหลัง    พระคาร์ดินัลไมเกิ้ลมีชัย  กิจบุญชู

ผู้ริเริ่มก่อตั้งและสนับสนุน      บาทหลวงอาแบล         พาณิชย์อุดม

                                  บาทหลวงศวง             ศุระศรางค์

ประธานคนแรก                 นายมนูญ                   สงวนแก้ว

เจ้าหน้าที่ 2 คนแรก            นางสาวอัมพรศณี         เหลี่ยมสงวน

                                   นางสาวจิตรา             กิจจิว (พงศ์ประเสริฐสิน)

ผู้จัดการคนแรก                  นางวรรฎา                กิจบุญชู

ที่ปรึกษา                          อธิการวัดนักบุญเปโตร